ข่าวสารการลงทุน

ดาวโจนส์ปิดลบ 207.33 จุด หลังพาวเวลส่งสัญญาณไม่รีบลดดอกเบี้ย

15 พฤศจิกายน 2567|08:57 น.

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี (14 พ.ย.) หลังจากเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวว่า เฟดไม่จำเป็นต้องรีบร้อนในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งทำให้นักลงทุนลดความคาดหวังที่ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในปีนี้

          ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 43,750.86 จุด ลดลง 207.33 จุด หรือ -0.47%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,949.17 จุด ลดลง 36.21 จุด หรือ -0.60% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 19,107.65 จุด ลดลง 123.07 จุด หรือ -0.64%

          พาวเวลได้กล่าวสุนทรพจน์ว่าด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจในงานเสวนาซึ่งจัดขึ้นที่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัสเมื่อวานนี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดแรงงานมีความแข็งแกร่ง และอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่สูงกว่าเป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% ซึ่งทำให้เฟดไม่จำเป็นต้องรีบร้อนในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เฟดสามารถดำเนินนโยบายการเงินอย่างรอบคอบระมัดระวัง

          พาวเวลยังกล่าวด้วยว่า เขาและกรรมการเฟดคนอื่น ๆ ยังคงมองว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนตัวสู่เป้าหมายที่ระดับ 2% อย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยให้เฟดมีโอกาสมากขึ้นในการปรับอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับที่เป็นกลาง แต่เฟดจะไม่กำหนดขนาดของอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า พร้อมกับย้ำว่า ภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ไม่ได้ส่งสัญญาณใด ๆ ที่ทำให้เฟดจำเป็นต้องรีบร้อนในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

          เครื่องมือ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า หลังการกล่าวสุนทรพจน์ของพาวเวล  นักลงทุนให้น้ำหนักเพียง 62% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนธ.ค. ซึ่งลดลงจากระดับ 76% ก่อนการกล่าวสุนทรพจน์ และลดลงอย่างมากจากระดับ 82.5% ในวันพุธ

          การกล่าวสุนทรพจน์ของพาวเวล มีขึ้นหลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อและแรงงาน โดยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ปรับตัวขึ้น 2.4% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.3% หลังจากเพิ่มขึ้น 1.9% ในเดือนก.ย. และดัชนี PPI พื้นฐาน (Core PPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.1% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.0% หลังจากปรับตัวขึ้น 2.9% ในเดือนก.ย.

          ส่วนจำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 4,000 ราย สู่ระดับ 217,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 225,000 ราย

          ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นนิวยอร์กพุ่งขึ้นอย่างร้อนแรงเนื่องจากนักลงทุนตอบรับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของโดนัลด์ ทรัมป์ แต่ตลาดเริ่มอ่อนแรงลงในสัปดาห์นี้เนื่องจากนักลงทุนเริ่มหันไปให้ความสนใจกับประเด็นที่ว่า นโยบายต่าง ๆ ของทรัมป์ซึ่งรวมถึงการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า อาจจะส่งผลให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น และอาจทำให้เฟดชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

          หุ้น 9 ใน 11 กลุ่มที่คำนวณในดัชนี S&P500 ปิดในแดนลบ นำโดยหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมร่วงลง 1.69% ตามด้วยหุ้นกลุ่ม 1.54% ส่วนหุ้นกลุ่มพลังงานดีดตัวขึ้น 0.14%

          หุ้นวอลท์ ดิสนีย์ (Walt Disney พุ่งขึ้น 6% และเป็นปัจจัยหนุนดัชนีดาวโจนส์ในระหว่างวัน หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรและรายได้ที่สูงเกินคาดในไตรมาส 4 ตามปีงบการเงินของบริษัท โดยได้แรงหนุนจากธุรกิจสตรีมมิ่ง

          หุ้นเทสลา (Tesla) และหุ้นริเวียน ออโตโมทีฟ (Rivian Automotive) ซึ่งเป็นสองผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของสหรัฐฯ ดิ่งลง 5.8% และ 14.3% ตามลำดับ หลังจากสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า คณะบริหารของทรัมป์วางแผนที่จะยกเลิกการให้เครดิตภาษีมูลค่า 7,500 ดอลลาร์แก่ผู้บริโภคที่ซื้อรถ EV ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการปฏิรูปภาษี

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

 
ตลาดหุ้น

ดาวโจนส์ปิดลบ ขณะ S&P500-Nasdaq บวกรับคาดการณ์เฟดลดดอกเบี้ย

17:54 น.

 
ตลาดทองคำ

ทองปิดบวก $11.20 ขานรับข้อมูลจ้างงานหนุนเฟดลดดอกเบี้ย

17:46 น.

 
ตลาดหุ้น

ดาวโจนส์ปิดลบ 248.33 จุดหลังหุ้นยูไนเต็ดเฮลธ์ร่วง, จับตาจ้างงานสหรัฐฯ

08:47 น.

 
ตลาดทองคำ

ทองปิดลบ $27.80 บอนด์ยีลด์พุ่งกดดันตลาด

08:45 น.

คำถามที่พบบ่อย

เกี่ยวกับเรา

พูดคุยกับเรา

พบเจอปัญหา หรือมีข้อสงสัย
ทักหาเราได้เลยที่นี่

เวลาทำการลูกค้าสัมพันธ์
จันทร์ - ศุกร์ 08.30 น. - 24.00 น.
เสาร์ - อาทิตย์ 08.30 น. - 17.30 น.

For the best experience, we recommend viewing the site in portrait orientation on mobile devices.

ตะกร้าสินค้า0
ไม่มีสินค้าในตะกร้า
เลือกซื้อสินค้าต่อ
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.