สัญญาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดอนุพันธ์แห่งประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)
การซื้อขายอนุพันธ์มีขั้นตอนหรือกระบวนการซื้อขาย ที่คล้ายกับการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ คือ ผู้ลงทุนจะทำการส่งคำสั่งซื้อหรือขายผ่านโบรกเกอร์ โดยโบรกเกอร์นี้ต้องเป็น บริษัทสมาชิกของตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เมื่อผู้ลงทุนส่งคำสั่งซื้อขายผ่านโบรกเกอร์แล้ว โบรกเกอร์จะส่งคำสั่งซื้อขายต่อมายังระบบซื้อขายของตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อให้ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจับคู่คำสั่งซื้อ-ขายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
เมื่อคําสั่งซื้อขายได้รับการจับคุ่แล้ว ระบบจะส่งรายละเอียดของรายการซื้อขายนั้นต่อไปยัง สํานักหักบัญชี (TCH) เพื่อทําหน้าที่ในการชําระราคา หรือพูดง่ายๆ ก็คือสำนักหักบัญชีจะทำหน้าที่คิดกําไรขาดทุนที่เกิดขึ้นในแต่ละวันและดูแลการรับและจ่ายเงิน ซึ่งการชำระกำไรขาดทุนนี้ จะเกิดขึ้น 1 วันหลังจากที่ผู้ลงทุนซื้อหรือขายในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(T+1)
ก่อนเริ่มต้นลงทุนควรเรียนรู้เรื่องการวางเงินค้ำประกัน (Margin)
โดยผู้ที่จะลงทุนใน สัญญา Futures จะต้องวางเงินค้ำประกันก่อน จึงจะสามารถลงทุนได้ ซึ่งเงินวางค้ำประกันมีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับดังนี้

1. เงินวางค้ำประกันขั้นต้น หรือที่เรียกว่า Initial Margin (IM)
คือ จำนวนเงินขั้นต้นที่นักลงทุนต้องวางไว้กับโบรกเกอร์ก่อนที่จะทำการซื้อหรือขายฟิวเจอร์ส

2. เงินวางค้ำประกันขั้นต่ำ หรือที่เรียกว่า Maintenance Margin (MM)
คือ หลักประกันรักษาสภาพ หรือหมายถึง วงเงินที่นักลงทุนจะต้องรักษาระดับเงินในบัญชีไม่ให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด หรือ 70 % ของเงินวางค้ำประกันขั้นต้น

3. หลักประกันปิดฐานะ หรือที่เรียกว่า Force Close (FC)
หากเงินประกันลดลงต่ำกว่าระดับหลักประกันขั้นต่ำเพื่อบังคับปิดฐานะ ลูกค้าจะต้องนำเงินประกันมาวางเพิ่ม เพื่อให้หลักประกันกลับไปอยู่ที่ระดับหลักประกันขั้นต้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของราคาอย่างรุนแรง
เปิดบัญชีซื้อขาย สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
***กรณีที่ลูกค้าต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือแจ้งถอนหลักประกัน สามารถดาวโหลดเอกสารได้ที่นี่***
ตัวแทนจำหน่ายกองทุนรวมต่างๆ









เอกสารที่ใช้ในการสมัคร

สำเนาบัตรประชาชน 1 ชุด

สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร 1 ชุด