ข่าวสารการลงทุน

ทองปิดบวก $30.10 รับความหวังเฟดลดดอกเบี้ย 0.50%

16 กันยายน 2567|08:47 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ (13 ก.ย.) โดยยังคงแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากนักลงทุนมีความหวังว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์หน้า

          ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 30.10 ดอลลาร์ หรือ 1.17% ปิดที่ 2,610.70 ดอลลาร์/ออนซ์ และในรอบสัปดาห์นี้ปรับตัวขึ้น 3.14%

          สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 0.967 ดอลลาร์ หรือ 3.21% ปิดที่ 31.074 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 24.60 ดอลลาร์ หรือ 2.50% ปิดที่ 1,006.80 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 22.20 ดอลลาร์ หรือ 2.12% ปิดที่ 1,071.00 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาทองคำดีดตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องทะลุระดับ 2,610 ดอลลาร์ ขานรับการคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากถึง 0.50% ในสัปดาห์หน้า

          นอกจากนี้ ราคาทองคำยังได้ปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ และการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

          ทั้งนี้ ดอลลาร์ที่อ่อนค่าจะเพิ่มความน่าดึงดูดของทอง ทำให้สัญญาทองมีราคาถูกลงสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น ส่วนการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จะช่วยลดต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือครองทองคำ เนื่องจากทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย

          ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.25% สู่ระดับ 101.114

          โจน ฟอสต์ ที่ปรึกษาอาวุโสของเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ระบุในบทความที่มีการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลฉบับวันพฤหัสบดีว่า ถ้าหากเจ้าหน้าที่เฟดได้ข้อสรุปว่าพวกเขามีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนพ.ย.หรือธ.ค. พวกเขาก็ควรที่จะดำเนินการดังกล่าวในขณะนี้ซึ่งอัตราดอกเบี้ยอยู่ห่างไกลที่สุดจากจุดหมายปลายทางสุดท้ายของพวกเขา

          นอกจากนี้ ฟอสต์ระบุว่า แม้เขาคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่ได้อยู่ในจุดที่จำเป็นต้องให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% แต่เขาก็มีความโน้มเอียงเล็กน้อยที่ต้องการให้เฟดเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% และคิดว่ามีโอกาสที่เฟดจะดำเนินการดังกล่าวเช่นกัน

          ความเห็นของฟอสต์สอดคล้องกับบิล ดัดลีย์ อดีตประธานเฟดสาขานิวยอร์กซึ่งกล่าวว่า มีโอกาสอย่างมากที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากถึง 0.50% ในการประชุมสัปดาห์หน้า

          “ผมคิดว่ามีโอกาสอย่างมากที่เฟดจะลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ไม่ว่าพวกเขาจะทำเช่นนั้นหรือไม่ก็ตาม” ดัดลีย์กล่าว

นอกจากนี้ ดัดลีย์ระบุว่า ขณะนี้อัตราดอกเบี้ยอยู่สูงกว่าระดับที่เป็นกลางราว 1.50-2.00%

          นักลงทุนเพิ่มน้ำหนักให้กับการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากถึง 0.50% ในสัปดาห์หน้า หลังการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่สูงกว่าคาดในสัปดาห์นี้

          ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 49% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 18 ก.ย.นี้ หลังจากให้น้ำหนักเพียง 28% เมื่อวันพฤหัสบดี

          นอกจากนี้ นักลงทุนให้น้ำหนัก 51% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 18 ก.ย. หลังจากให้น้ำหนักมากถึง 72% ในวันพฤหัสบดี

          หากเฟดลดอัตราดอกเบี้ยตามคาดในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. ก็จะเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟดในปีนี้ และครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งขณะนั้นเฟดได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงใกล้ 0% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ที่มา   สำนักข่าวอินโฟเควสท์

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

 
war

“ปูติน” โว รัสเซียยิงขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง โต้ยูเครนใช้อาวุธมะกัน-อังกฤษ

15:33 น.

 
ตลาดหุ้น

ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 461.88 จุด รับแรงซื้อหุ้นวัฏจักร

08:27 น.

 
ตลาดทองคำ

ทองปิดบวก 23.20 ดอลล์ รับแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย

08:25 น.

 
ตลาดหุ้น

ดาวโจนส์ปิดบวก 139.53 จุด จับตาผลประกอบการ Nvidia

08:18 น.

คำถามที่พบบ่อย

เกี่ยวกับเรา

พูดคุยกับเรา

พบเจอปัญหา หรือมีข้อสงสัย
ทักหาเราได้เลยที่นี่

เวลาทำการลูกค้าสัมพันธ์
จันทร์ - ศุกร์ 08.30 น. - 24.00 น.
เสาร์ - อาทิตย์ 08.30 น. - 17.30 น.

For the best experience, we recommend viewing the site in portrait orientation on mobile devices.

ตะกร้าสินค้า0
ไม่มีสินค้าในตะกร้า
เลือกซื้อสินค้าต่อ
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.