ข่าวสารการลงทุน

เงินบาทเปิด 34.61/66 อ่อนค่า รอปัจจัยใหม่หนุนทิศทาง จับตาดัชนี CPI-PPI สหรัฐฯ สัปดาห์นี้

12 พฤศจิกายน 2567|10:29 น.

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.61/66 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.37 บาท/ดอลลาร์ เช้านี้เงินบาทปรับตัวอ่อนค่า จากราคาทองคำที่ปรับตัวลง ด้านสกุลเงินในภูมิภาคเคลื่อนไหวทิศทางเดียวกับเงินบาท

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.50 – 34.70 บาท/ดอลลาร์

สำหรับวันนี้ยังไม่มีตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ต้องติดตาม ตลาดรอดูตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ สัปดาห์นี้ ทั้งดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนต.ค. ในวันพุธ และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนต.ค. ในวันพฤหัสบดี

ปัจจัยสำคัญ

  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 153.70/154.00 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 153.67 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0640/0670 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0670 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 34.297 บาท/ดอลลาร์
  • “เงินบาท” กลับมาอ่อนค่าหนักที่ 34.30 บาทต่อดอลลาร์ ท่ามกลางความ “กังวลสงครามการค้า” ระยะข้างหน้า และ “เงินเฟ้อสหรัฐ” ยังสูงกว่าเป้าหมาย ส่งผลกดดันเฟดลดดอกเบี้ย น้อยกว่าคาด “กรุงไทย” มองเงินบาทผันผวน ชี้ปลายปีมีโอกาสพลิกแข็งค่าแตะ 33 บาท รับไฮซีซัน “ท่องเที่ยว-ส่งออก” หนุนปี 68 ผันผวนกว่าค่าเฉลี่ยอดีต เหตุ “ทรัมป์” เดินหน้านโยบายกีดกันนำไปสู่สงครามการค้ารอบใหม่
  • รัฐบาลคาด นทท. ช่วงเทศกาลลอยกระทง ปี 67 คึกคัก ยอดจองเที่ยวบินพุ่ง 36% จากปีก่อน ตลอดเดือนพ.ย มีจำนวน 73,500 เที่ยวบิน เฉลี่ยวันละ 2,450 เที่ยวบิน
  • ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานปารีส เปิดเผยว่า ททท. จะจัดสรรงบประมาณปี 2568 ประมาณ 12 ล้านบาท สำหรับแผนการตลาดหลักที่เจาะตลาดสินค้าหรูในฝรั่งเศสและเบเนลักซ์ ที่มีศักยภาพในการใช้จ่ายสูง อาทิ การจับมือกับแบรนด์หรู เช่น หลุยส์ วิตตอง และคาร์เทียร์ ในการจัดทริปสื่อมวลชนและอีเวนต์ไลฟ์สไตล์สุดหรู เดือน ธ.ค.นี้ โดย ททท.จะร่วมมือกับหลุยส์ วิตตอง เพื่อจัดทำคู่มือท่องเที่ยวเมืองฉบับใหม่สำหรับประเทศไทย
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขามินนีแอโพลิส กล่าวว่า นโยบายภาษีการค้าของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ หากบรรดาประเทศคู่ค้าทั่วโลกของสหรัฐฯ ใช้มาตรการตอบโต้
  • ราคาบิตคอยน์พุ่งขึ้นทำสถิติใหม่ที่เหนือระดับ 89,000 ดอลลาร์ โดยได้แรงหนุนจากการที่ตลาดคริปโทเคอร์เรนซียังคงขานรับชัยชนะของโดนัลด์ ทรัมป์ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ขณะที่นักวิเคราะห์หลายรายคาดการณ์ว่า ราคาบิตคอยน์มีแนวโน้มทะยานขึ้นแตะระดับ 100,000 ดอลลาร์
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 153.77 เยน จากระดับ 152.69 เยน นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8809 ฟรังก์ จากระดับ 0.8761 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3926 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3914 ดอลลาร์แคนาดา
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันจันทร์ (11 พ.ย.) โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ รวมทั้งการที่นักลงทุนกังวลว่าชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของโดนัลด์ ทรัมป์ อาจส่งผลให้นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เผชิญกับความไม่แน่นอน
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ มีกำหนดเปิดเผยดัชนี CPI ประจำเดือนต.ค.ในวันพุธนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนี CPI จะปรับตัวขึ้น 2.4% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายปี ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก.ย. และคาดว่า CPI พื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะปรับตัวขึ้น 3.3% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายปี ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก.ย.เช่นกัน
  • นักลงทุนจับตาเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ซึ่งจะกล่าวสุนทรพจน์ว่าด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในงานเสวนาที่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส ในวันพฤหัสบดีที่ 14 พ.ย. เวลา 15.00 น. ตามเวลาสหรัฐ หรือตรงกับวันศุกร์ที่ 15 พ.ย. เวลา 03.00 น.ตามเวลาไทย

ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

 
ตลาดหุ้น

ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 390.08 จุด หุ้นเทคโนฯหนุนตลาดต่อเนื่อง

08:33 น.

 
ตลาดทองคำ

ทองปิดบวก $7.30 นักลงทุนจับตาทิศทางดอกเบี้ยเฟด

08:30 น.

 
ตลาดหุ้น

ดาวโจนส์ปิดบวก 66.69 จุด หุ้นเทคโนโลยีพุ่งหนุนตลาด

08:18 น.

 
ตลาดทองคำ

ทองปิดลบ $16.90 บอนด์ยีลด์พุ่ง-ดอลล์แข็งทุบตลาด

08:16 น.

คำถามที่พบบ่อย

เกี่ยวกับเรา

พูดคุยกับเรา

พบเจอปัญหา หรือมีข้อสงสัย
ทักหาเราได้เลยที่นี่

เวลาทำการลูกค้าสัมพันธ์
จันทร์ - ศุกร์ 08.30 น. - 24.00 น.
เสาร์ - อาทิตย์ 08.30 น. - 17.30 น.

For the best experience, we recommend viewing the site in portrait orientation on mobile devices.

ตะกร้าสินค้า0
ไม่มีสินค้าในตะกร้า
เลือกซื้อสินค้าต่อ
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.