แนวโน้มราคาทอง
ปรับตัวลง
- ราคาทองปรับตัวขึ้น +0.99 ดอลลาร์ คิดเป็น +0.03%
- ปิดตลาดที่ระดับ 2,632 ดอลลาร์
Gold spot
สูงสุด – 2,645 ดอลลาร์
ต่ำสุด – 2,612 ดอลลาร์
ราคาทองคำแท่ง
สูงสุด – 42,500 บาท
ต่ำสุด – 42,500 บาท
ภาพรวมความเคลื่อนไหวที่ผ่านมา
สัปดาห์ก่อนราคาทองคำปรับตัวลง โดยเมื่อวันศุกร์สหรัฐฯ ได้มีการเปิดเผยการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 227,000 ตำแหน่ง สูงเกินคาด จากที่ตลาดคาดเพิ่มขึ้น 218,000 ตำแหน่ง กดดันราคาทองคำ รวมถึงราคาทองคำถูกกดดันจากทรัมป์ขู่เก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากกลุ่ม BRICS 100% และประธานเฟดแถลงลดดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม มีข่าวเกี่ยวกับธนาคารกลางจีนเริ่มกลับมาซื้อทองคำอีกครั้งในเดือนพ.ย.หลังจากที่หยุดซื้อไปกว่า 6 เดือน การกลับเข้ามาซื้ออีกครั้งถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีว่าธนาคารกลางจีนอาจคุ้ยเคยกับระดับราคาสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว ส่วนกองทุน SPDR ขายทอง 6.61 ตันในสัปดาห์ก่อน
ตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตาม
สัปดาห์นี้สหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ย. และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ย.
วิเคราะห์ราคาทอง
แม้ว่าสัญญาณทางเทคนิคของราคาทองคำจะมีทิศทางปรับตัวลง แต่คาดว่าเป็นการปรับตัวลงอย่างช้า ๆ ทั้งนี้ราคาทองคำอาจมีแนวรับที่สำคัญบริเวณ 2,580 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นแนวรับของเส้น SMA100 คาดว่าเป็นแนวรับที่แข็งแกร่ง และอาจเกิดการฟื้นตัวบริเวณแนวรับดังกล่าว
ราคาทองตลาดโลก
แนวรับ : 2,600 และ 2,580 ดอลลาร์
แนวต้าน : 2,640 และ 2,650 ดอลลาร์
ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวลง แต่เป็นไปอย่างช้า ๆ ซึ่งสามารถเปิดสถานะขายที่ 2,640 ดอลลาร์ โดยมีจุดตัดขาดทุนที่ 2,650 ดอลลาร์ และ Take Profit ที่ 2,580 ดอลลาร์
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
แนวรับ : 42,200 และ 42,000 บาท
แนวต้าน : 42,600 และ 42,700 บาท
ราคาทองคำแท่งมีแนวโน้มปรับตัวลง จากสัญญาณทางเทคนิคของราคาทองคำแท่งทั้งจาก MACD และ Modified Stochastic บ่งชี้การปรับตัวลง แต่คาดว่าไม่มากนัก แต่หากยืนเหนือ 41,800-42,000 บาทได้ อาจมีการฟื้นตัวเกิดขึ้น ให้เข้าซื้อบริเวณ 41,800 บาท