ข่าวสารการลงทุน

ดาวโจนส์ปิดลบ 234.44 จุด หลังสหรัฐฯเผยดัชนี PPI สูงกว่าคาด

13 ธันวาคม 2567|09:17 น.

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี (12 ธ.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจากดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯ ที่ออกมาสูงเกินคาด และจากการที่นักลงทุนเทขายทำกำไร

          ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 43,914.12 จุด ลดลง 234.44 จุด หรือ -0.53%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 6,051.25 จุด ลดลง 32.94 จุด หรือ -0.54% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 19,902.84 จุด ลดลง 132.05 จุด หรือ -0.66%

          กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่าดัชนี PPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต พุ่งขึ้น 3.0% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2566 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.6% หลังจากปรับตัวขึ้น 2.6% ในเดือนต.ค.

          ส่วนดัชนี PPI พื้นฐาน (Core PPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ดีดตัวขึ้น 3.4% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.2% หลังจากปรับตัวขึ้น 3.4% ในเดือนต.ค.

          ข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเผชิญกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์

          เครื่องมือ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักกว่า 98% ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมวันที่ 17-18 ธ.ค. แต่นักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดอาจจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนม.ค.ปีหน้า หลังจากเจ้าหน้าที่เฟดหลายรายได้ออกมาเรียกร้องให้คณะกรรมการเฟดใช้ความระมัดระวังในการผ่อนคลายนโยบายการเงิน เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่ง

          ร็อบ ฮาเวิร์ธ นักกลยุทธ์การลงทุนจากบริษัท U.S. Bank Wealth Management กล่าวว่า นักลงทุนพยายามประเมินว่าเฟดจะตัดสินใจอย่างไรในการประชุมสัปดาห์หน้า รวมทั้งจับตาว่าข้อมูลเงินเฟ้อที่มีการเปิดเผยล่าสุดนี้จะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของเฟดหรือไม่ นอกจากนี้ ฮาเวิร์ธกล่าวว่า มีแรงขายทำกำไรเข้ามาในตลาด หลังจากดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา

          หุ้น 10 ใน 11 กลุ่มที่คำนวณในดัชนี S&P500 ปิดในแดนลบ นำโดยหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยและหุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์ ปรับตัวลง 0.84% และ 0.83% ตามลำดับ ส่วนหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคดีดตัวขึ้นสวนทางภาพรวมตลาด โดยปรับตัวขึ้น 0.18%

          หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลง โดยหุ้นอินวิเดีย (Nvidia) ดิ่งลง 1.41% ส่วนหุ้นอะโดบี (Adobe) ทรุดตัวลง 13.69% หลังจากบริษัทเปิดเผยตัวเลขคาดการณ์รายได้ในปีงบการเงิน 2568 ที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ในวอลล์สตรีท

          หุ้นวอร์เนอร์ บราเธอร์ส ดิสคัฟเวอรี (Warner Bros. Discovery) พุ่งขึ้น 15.4% หลังจากวอร์เนอร์ประกาศแผนแยกธุรกิจเคเบิลทีวีที่กำลังซบเซาลงในขณะนี้ ออกจากธุรกิจสตรีมมิงและสตูดิโอ

          สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ ที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่าตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก เพิ่มขึ้น 17,000 ราย สู่ระดับ 242,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 220,000 ราย

          นักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ Stifel คาดการณ์ว่า ดัชนี S&P500 มีแนวโน้มพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในช่วงครึ่งแรกของปี 2568 โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงขับเคลื่อนตลาด (momentum) ในปัจจุบันและผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีอาจจะปรับตัวลง 10-15% ในช่วงครึ่งหลังของปี พร้อมกับคาดการณ์ว่าเฟดจะหยุดวงจรการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยคาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมม.ค. 2568 ซึ่งจะสร้างความเสี่ยงให้กับตลาดในช่วงกลางปี 2568

ที่มา สํานักข่าวอินโฟเควสท์

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

 
ตลาดทองคำ

ทองปิดร่วง 47.30 ดอลลาร์ จากแรงขายทำกำไร

09:13 น.

 
ตลาดหุ้น

ดาวโจนส์ปิดลบ 154.10 จุด นักลงทุนจับตา CPI สหรัฐฯ

08:48 น.

 
ตลาดทองคำ

ทองปิดพุ่ง $32.60 รับคาดการณ์เฟดหั่นดอกเบี้ยสัปดาห์หน้า

08:46 น.

 
ตลาดหุ้น

ดาวโจนส์ปิดลบ ขณะ S&P500-Nasdaq บวกรับคาดการณ์เฟดลดดอกเบี้ย

17:54 น.

คำถามที่พบบ่อย

เกี่ยวกับเรา

พูดคุยกับเรา

พบเจอปัญหา หรือมีข้อสงสัย
ทักหาเราได้เลยที่นี่

เวลาทำการลูกค้าสัมพันธ์
จันทร์ - ศุกร์ 08.30 น. - 24.00 น.
เสาร์ - อาทิตย์ 08.30 น. - 17.30 น.

For the best experience, we recommend viewing the site in portrait orientation on mobile devices.

ตะกร้าสินค้า0
ไม่มีสินค้าในตะกร้า
เลือกซื้อสินค้าต่อ
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.