ข่าวสารการลงทุน

ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 546.64 จุด ขานรับข้อมูลจ้างงาน-ผลประกอบการแอปเปิ้ลแกร่ง

08 พฤษภาคม 2566|08:17 น.

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันศุกร์ (5 พ.ค.) ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นคิดเป็นเปอร์เซ็นต์มากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค. โดยได้แรงหนุนจากการที่ราคาหุ้นแอปเปิ้ลพุ่งขึ้นมากกว่า 4% หลังการเปิดเผยผลประกอบการที่สดใส และจากข้อมูลที่บ่งชี้ว่า ตลาดแรงงานสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง

ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,674.38 จุด เพิ่มขึ้น 546.64 จุด หรือ +1.65%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,136.25 จุด เพิ่มขึ้น 75.03 จุด หรือ +1.85% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,235.41 จุด เพิ่มขึ้น 269.01 จุด หรือ +2.25%

อย่างไรก็ตาม ดัชนีดาวโจนส์และ S&P500 ยังคงปิดตลาดลดลงในรอบสัปดาห์นี้ ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดบวกเล็กน้อยในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ดัชนี CBOE Volatility Index (VIX) ซึ่งเป็นมาตรวัดความวิตกของนักลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐ ร่วงลงวันเดียวมากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.

ตลาดยังได้แรงหนุนจากการที่หุ้นกลุ่มธนาคารภูมิภาคดีดตัวขึ้นจากการติดลบที่เกิดจากการล้มของธนาคารเฟิร์สท์ รีพับลิก แบงก์ ขณะที่นักวิเคราะห์ได้ปรับเพิ่มคำแนะนำลงทุนหุ้นธนาคารดังกล่าวจำนวนมาก หลังจากที่ถูกเทขายมากเกินไป

ดัชนี KBW หุ้นกลุ่มธนาคารภูมิภาค พุ่งขึ้น 4.7% โดยหุ้นแพคเวสต์ แบงคอร์ป ทะยานขึ้น 81.7% และหุ้นเวสเทิร์น อัลไลแอนซ์ แบงคอร์ป พุ่งขึ้น  49.2%

การปรับตัวขึ้นของหุ้นแอปเปิลช่วยหนุนหุ้นอื่น ๆ ในกลุ่มเทคโนโลยีขึ้นด้วย และหุ้นทั้ง 11 กลุ่มในดัชนี S&P500 ปิดตลาดในแดนบวก

หุ้นแอปเปิ้ล พุ่งขึ้น 4.7% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นเปอร์เซ็นต์มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. แตะระดับสูงสุดในรอบราว 9 เดือน หลังเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่ง ซึ่งได้ช่วยคลายความวิตกของนักลงทุนเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย

นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานที่บ่งชี้ว่า ตลาดแรงงานสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง แม้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม โดยบรรดานักลงทุนวิตกว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจจะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยในที่สุด

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้น 253,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. มากกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่คาดว่าอาจเพิ่มขึ้นเพียง 180,000 ตำแหน่ง แม้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงและเกิดวิกฤติภาคธนาคาร ส่วนอัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 3.4% ขณะที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าอาจอยู่ที่ 3.6% และทำสถิติต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2512 ขณะเดียวกันตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สำคัญตัวหนึ่งนั้น เพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบรายเดือน และเพิ่มขึ้น 4.4% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ทั้งรายเดือนและรายปี

เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เมื่อวันพุธ (3 พ.ค.) ตามคาด ขณะที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดระบุว่า ยังเร็วเกินไปที่จะระบุว่าวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสิ้นสุดลงแล้ว เนื่องจากเฟดยังคงวิตกอย่างมากเกี่ยวกับเงินเฟ้อ

ที่มา  สำนักข่าวอินโฟเควสท์

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

 
ตลาดหุ้น

ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 537.98 จุด คลายกังวลสงครามการค้า

08:52 น.

 
ตลาดทองคำ

ทองปิดบวก $10.50 รับแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย

08:49 น.

 
Donald Trump

 *สรุปนโยบายสหรัฐภายใต้ “ทรัมป์ 2.0”

16:10 น.

 
ตลาดหุ้น

ดาวโจนส์ปิดลบ 68.42 จุด ตลาดประเมินผลประกอบการ-ข้อมูลศก.

08:26 น.

คำถามที่พบบ่อย

เกี่ยวกับเรา

พูดคุยกับเรา

พบเจอปัญหา หรือมีข้อสงสัย
ทักหาเราได้เลยที่นี่

เวลาทำการลูกค้าสัมพันธ์
จันทร์ - ศุกร์ 08.30 น. - 24.00 น.
เสาร์ - อาทิตย์ 08.30 น. - 17.30 น.

For the best experience, we recommend viewing the site in portrait orientation on mobile devices.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า
ตะกร้าสินค้า0
ไม่มีสินค้าในตะกร้า
เลือกซื้อสินค้าต่อ
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.