ข่าวสารการลงทุน

ดาวโจนส์ปิดลบเล็กน้อย,Nasdaq พุ่งกว่า 1% รับ CPI ต่ำกว่าคาด

11 พฤษภาคม 2566|07:57 น.

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ในวันพุธ (10 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐ หลังจากการเจรจาระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดน และผู้นำสภาคองเกรส ยังไม่มีความคืบหน้า อย่างไรก็ดี ดัชนีดาวโจนส์ลดช่วงลบ ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้นกว่า 1% หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ต่ำกว่าคาด

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,531.33 จุด ลดลง 30.48 จุด หรือ -0.09%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,137.64 จุด เพิ่มขึ้น 18.47 จุด หรือ +0.45% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,306.44 จุด เพิ่มขึ้น 126.89 จุด หรือ +1.04%

ปธน.ไบเดน และนายเควิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ยังไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับการปรับเพิ่มเพดานหนี้ของรัฐบาลสหรัฐ หลังเสร็จสิ้นการเจรจาที่ทำเนียบขาวเมื่อวันอังคาร (9 พ.ค.) โดยทั้งสองฝ่ายให้คำมั่นว่าจะกลับมาเจรจาร่วมกันอีกครั้งในวันศุกร์ที่ 12 พ.ค.

ปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาด หลังจากนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐเตือนว่า สหรัฐอาจเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้ภายในวันที่ 1 มิ.ย.หากสภาคองเกรสไม่ลงมติขยายเพดานหนี้ ซึ่งเร็วกว่าที่นักวิเคราะห์ของโกลด์แมน แซคส์คาดการณ์ว่ารัฐบาลสหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้ในช่วงปลายเดือนก.ค.

อย่างไรก็ดี ดัชนีดาวโจนส์ลดช่วงลบหลังจากระหว่างวันร่วงลงไปเกือบ 200 จุด ขณะที่ดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 8 เดือนในระหว่างวัน หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนี CPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค เพิ่มขึ้น 4.9% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.0% และชะลอตัวจากระดับ 5.0% ในเดือนมี.ค.

อเล็กซานดรา วิลสัน-เอลิซอนโด นักวิเคราะห์จากบริษัท Goldman Sachs Asset Management กล่าวว่า ดัชนี CPI ที่ระดับต่ำกว่า 5% บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐเริ่มชะลอตัวลง และเป็นปัจจัยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะตรึงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย.

ข้อมูลล่าสุดจาก FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 86.9% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย. และให้น้ำหนักเพียง 13.1% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.25-5.50%

หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีซึ่งมีความอ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ย ดีดตัวขึ้นหลังดัชนี CPI ของสหรัฐออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ โดยหุ้นแอปเปิ้ล พุ่งขึ้น 1.04%  หุ้นไมโครซอฟท์ ดีดขึ้น 1.7% หุ้นอินวิเดีย บวก 1.1% หุ้นเน็ตฟลิกซ์ บวก 1%

หุ้นอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล พุ่งขึ้นกว่า 4% และเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยหนุนดัชนี Nasdaq หลังจากอัลฟาเบทประกาศใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพิ่มเติมในผลิตภัณฑ์เสิร์ชเอนจินของบริษัท เพื่อแข่งขันกับเทคโนโลยี AI ของไมโครซอฟท์

อย่างไรก็ดี หุ้นกลุ่มธนาคารระดับภูมิภาคยังคงปรับตัวลง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในภาคธนาคาร โดยหุ้นแพคเวสต์ แบงคอร์ป ลดลง 0.5% หุ้นซิติเซนส์ ไฟแนนเชียล คอร์ป ร่วงลง 2.5% หุ้นพีเอ็นซี ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ดิ่งลง 1.5%

หุ้น Airbnb ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มจองที่พักออนไลน์ระดับโลก ร่วงลง 10.92% เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มรายได้ในไตรมาส 2/2566 ของบริษัท หลังจาก Airbnb คาดการณ์ว่ารายได้ในไตรมาส 2 จะอยู่ที่ 2.35-2.45 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.42 พันล้านดอลลาร์

นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ประจำเดือนเม.ย.ของสหรัฐในวันนี้ รวมทั้งข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ ในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ราคานำเข้าและส่งออกเดือนเม.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนพ.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

ที่มา  สำนักข่าวอินโฟเควสท์

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

 
คามาลา แฮร์ริส

“คามาลา แฮร์ริส” กดดัน “เนทันยาฮู” ทำข้อตกลงหยุดยิงในกาซา ลั่นจะไม่อยู่เฉยแน่

13:26 น.

 
ตลาดหุ้น

ดาวโจนส์ปิดร่วง 504.22 จุด, S&P500 ดิ่งหนัก ผิดหวังผลประกอบการเทสลา-อัลฟาเบท

09:20 น.

 
ตลาดทองคำ

ทองปิดบวก $8.40 เหตุดอลล์อ่อนหนุนแรงซื้อ

09:19 น.

 
ตลาดหุ้น

ดาวโจนส์ปิดลบ 57.35 จุด นลท.จับตาผลประกอบการบริษัทเทคโนฯ

07:41 น.

คำถามที่พบบ่อย

เกี่ยวกับเรา

พูดคุยกับเรา

พบเจอปัญหา หรือมีข้อสงสัย
ทักหาเราได้เลยที่นี่

เวลาทำการลูกค้าสัมพันธ์
จันทร์ - ศุกร์ 08.30 น. - 24.00 น.
เสาร์ - อาทิตย์ 08.30 น. - 17.30 น.

For the best experience, we recommend viewing the site in portrait orientation on mobile devices.

ตะกร้าสินค้า0
ไม่มีสินค้าในตะกร้า
เลือกซื้อสินค้าต่อ
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.