Desktop 1550x550 13

แนวโน้มตลาดและการลงทุน

Market-focus-weekly-290467

29 เมษายน 2567|09:34 น.

คาดเฟดคงอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้

Gold Bullish

  • ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ สงครามยูเครน-รัสเซีย สงครามอิสราเอล-ฮามาส
  • ธนาคารกลางทั่วโลกเข้าซื้อทองคำต่อเนื่อง
  • ความต้องการทองจากกระแส De-Dollarization

Gold Bearish

  • เงินเฟ้อที่ยังอยู่ระดับสูงกว่าเป้าหมาย
  • เฟดส่งสัญญาณตรึงดอกเบี้ยสูงนานขึ้น

คาดว่าเฟดคงอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้

สัปดาห์ก่อนราคาทองคำปรับตัวลงแรงหลุด 2,300 ดอลลาร์ หลังจากนักลงทุนคลายความกังวลชั่วคราวเกี่ยวกับสถานการณ์ในตะวันออกกลาง ขณะที่เงินเฟ้อสหรัฐ Core PCE พื้นฐานของสหรัฐที่เปิดเผยออกมาวันศุกร์ได้สะท้อนถึงเงินเฟ้อยังคงอยู่สูง จึงอาจเป็นปัจจัยทำให้เฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยที่สูงนานขึ้น ซึ่งอาจกดดันต่อราคาทองคำในระยะต่อไป ทั้งนี้อาจมีคำถามว่า “แล้วราคาทองคำยังน่าสนใจอยู่หรือไม่? ทองคำหมดเสน่ห์แล้วหรือยัง?” ซึ่งยังคงยืนยันว่าทองคำยังคงมีความน่าสนใจในระยะยาว หากพิจารณาการลงทุนทองคำในเชิงระยะยาวนั้น ในปีนี้ทองคำโลกให้ผลตอบแทนถึง 13.34% ส่วนทองคำแท่งในประเทศให้ผลตอบแทนถึง 21.69% และหากพิจารณาผลตอบแทนการลงทุนทองคำ พบว่า ผลตอบแทนของราคาทองคำโลกเฉลี่ย 3 ปีให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 3.1% ขณะที่ผลตอบแทนเฉลี่ย 5 ปี 10 ปี 20 ปี และ 26 ปี ให้ผลตอบแทน 10.5% 6.1% 9.4% และ 8.8% ตามลำดับ ส่วนผลตอบแทนของราคาทองคำไทยเฉลี่ย 3 ปีให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 7.9% ขณะที่ผลตอบแทนเฉลี่ย 5 ปี 10 ปี 20 ปี และ 26 ปี ให้ผลตอบแทน 11.5% 6.3% 8.2% และ 7.3% ตามลำดับ โดยผลตอบแทนของทองคำค่อนข้างให้ผลตอบแทนที่ดี และน่าสนใจไปกว่านั้นคือผลตอบแทนเป็นบวกหมด ซึ่งก็เป็นข้อพิสูจน์แล้วว่า การลงทุนทองคำยังคงน่าสนใจในเชิงระยะยาว

อย่างไรก็ตาม ระยะสั้นราคาทองคำอาจปรับตัวลงได้ โดยดอกเบี้ยสหรัฐที่อยู่สูงนานกว่าคาด อาจจะกดดันตลาดทองคำในระยะสั้น โดยการประชุมเฟดในสัปดาห์นี้ ยังคงคาดว่าเฟดจะตรึงดอกเบี้ยระดับเท่าเดิม และอาจจะมีการส่งสัญญาณเกี่ยวกับการปรับลดดอกเบี้ยอาจเลื่อนออกไปนานกว่าที่ตลาดคาดการณ์ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ตลาดมีมุมมองการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. จากเดิมที่เคยคาดว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย. และคาดว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยเพียง 1 ครั้งเท่านั้นในปีนี้ จากเดิมที่เคยคาดการณ์ว่าเฟดอาจปรับลดดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ ซึ่งมุมมองของนักลงทุนมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ขึ้นกับตัวเลขเงินเฟ้อและตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่เปิดเผยออกมาในแต่ละสัปดาห์ การที่เฟดมีแนวโน้มที่จะตรึงดอกเบี้ยที่สูงนานขึ้น อาจเป็นหนึ่งปัจจัยที่กดดันราคาทองคำให้ปรับตัวลงมาได้ในระยะสั้น ถ้าถามว่าตรงนี้อาจทำให้ทองคำลดความน่าสนใจหรือไม่? อาจไม่!! ในระยะยาว ซึ่งหากพิจารณาอีกหนึ่งทฤษฎี คือ กฎเทย์เลอร์ (Taylor’s Rule) ได้มีการนำใช้ในการคาดการณ์หาอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลางสหรัฐ จะพบว่า เส้นที่คำนวณได้จากกฎเทย์เลอร์ เริ่มปรับตัวลงแล้วทุกเส้น ขณะที่เส้นสีน้ำเงินซึ่งเป็นเส้น Actual Fed Fund Rate ยังคงปรับตัวขึ้น และยังไม่ได้มีการปรับตัวลง โดยปกติแล้วเส้นดังกล่าวจะคล้อยตามกัน นั่นก็แสดงว่าอีกไม่นาน อย่างไรแล้วเฟดก็จะต้องเริ่มลดดอกเบี้ยลง ทองคำจึงยังคงน่าสนใจ

gold spot vs taylor rule

ราคาทองคำเริ่มมีการฟื้นตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน 2,350-2,355 ดอลลาร์ แต่ไม่สามารถทะลุผ่านได้ ทำให้มีแรงเทขายออกมา ทั้งนี้คาดว่าการฟื้นตัวของราคาทองคำมีกรอบจำกัด และคาดว่าราคาทองคำอาจชะลอการปรับตัวลง จึงอาจเคลื่อนไหวในกรอบ   Sideways สัปดาห์นี้ติดตามการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ และการแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐ นอกจากนี้สหรัฐจะเปิดเผยการจ้างงานภาคเอกชนทั่วประเทศเดือนเม.ย. ของ ADP และการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเม.ย. สัปดาห์นี้ราคาทองคำมีแนวรับอยู่ที่  2,325 ดอลลาร์ และ 2,300 ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้าน 2,350 ดอลลาร์ และ 2,380 ดอลลาร์ ส่วนราคาทองแท่งในประเทศมีแนวรับ 40,500 บาท และ 40,300 บาท ขณะที่มีแนวต้านที่ 41,200 บาท และ 41,500 บาท

ดาวน์โหลดเอกสาร

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

 
Cover 1000x670 02

Night Recap Gold Futures 26-12-2567

17:08 น.

 
Cover 1000x670 10

Night Recap Gold Spot 26-12-2567

16:54 น.

 
Cover 1000x670 06

Derivative Recap 26-12-2567

08:54 น.

 
Cover 1000x670 01

Daily Recap Gold Futures 26-12-2567

08:44 น.

คำถามที่พบบ่อย

เกี่ยวกับเรา

พูดคุยกับเรา

พบเจอปัญหา หรือมีข้อสงสัย
ทักหาเราได้เลยที่นี่

เวลาทำการลูกค้าสัมพันธ์
จันทร์ - ศุกร์ 08.30 น. - 24.00 น.
เสาร์ - อาทิตย์ 08.30 น. - 17.30 น.

For the best experience, we recommend viewing the site in portrait orientation on mobile devices.

ตะกร้าสินค้า0
ไม่มีสินค้าในตะกร้า
เลือกซื้อสินค้าต่อ
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.