Desktop 1550x550 13

แนวโน้มตลาดและการลงทุน

Market Focus Weekly 14-10-67

14 ตุลาคม 2567|08:54 น.

ความตึงเครียดตะวันออกกลาง หนุนแรงซื้อทอง

Gold Bullish

  • ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น
  • ธนาคารกลางทั่วโลกเข้าซื้อทองคำต่อเนื่อง

Gold Bearish

  • การหยุดซื้อทองคำของธนาคารกลางจีน
  • ตลาดให้น้ำหนักการลดดอกเบี้ยของเฟดน้อยลง

ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง หนุนแรงซื้อทองคำ

แม้สงครามในตะวันออกกลางยังไม่ได้ขยายวงกว้างมากนัก แต่สถานการณ์ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ยังคงสร้างแรงซื้อทองคำเข้ามาในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งมีแนวโน้มสถานการณ์ในตะวันออกกลางยังคงร้อนระอุ หลังจากล่าสุดได้มีการโจมตีระหว่างกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอนและอิสราเอล ซึ่งส่อแววความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าอาจยังไม่ขยายวงกว้างในระยะอันใกล้นี้ ขณะที่มีดัชนีตัวหนึ่งที่ใช้วัดความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาตร์ นั่นคือ Geopolitical Risk Index (GPR) หรือ GPR index ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้วัดระดับความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลก ดัชนีนี้อิงจากการวิเคราะห์เนื้อหาในบทความข่าวสารผ่านการใช้เทคนิคการค้นหาข้อความ (text analysis) เพื่อนับจำนวนบทความที่กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น ภัยคุกคามจากสงคราม การก่อการร้าย การสร้างกำลังทหาร ความตึงเครียดทางการเมือง และความขัดแย้งระหว่างประเทศ โดยใช้เนื้อหาจากบทความในหนังสือพิมพ์ระดับโลก เช่น The New York Times, The Guardian, Financial Times และ The Wall Street Journal เพื่อสร้างดัชนี GPR ที่สามารถสะท้อนถึงความเสี่ยงที่เกิดจากเหตุการณ์เหล่านี้ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่ง GPR จะแสดงให้เห็นว่าความสนใจของตลาดและสังคมโลกต่อความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์อยู่ในระดับใดในช่วงเวลานั้น หากดัชนีพุ่งสูงขึ้น แสดงว่ามีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่มีผลกระทบสูง เช่น สงคราม การก่อการร้าย หรือความขัดแย้งระหว่างประเทศ

ซึ่งค่า GPR index ล่าสุดอยู่ที่ 122.69 ถามว่าค่านี้มันสูงหรือไม่? ถ้าเทียบกับช่วงเดือนก.ย. ถือว่าค่าแนวโน้มลดลง และเมื่อเทียบกับช่วงต้นเดือนต.ค.ค่า GPR index อยู่ที่ 144 นั่นแสดงว่าความสนใจของตลาดต่อความกังวลเกี่ยวกับสงครามในตะวันออกกลางมีแนวโน้มลดลง  นอกจากนี้ ค่า GPR index ณ ตอนนี้ ถือว่ายังไม่สูงมากนัก เพราะโดยทั่วไปหากดัชนีอยู่ในระดับที่สูงกว่า 150 หรือ 200 จะถือว่าอยู่ในสถานะที่เสี่ยงสูง

ขณะที่ในอดีตค่า ดัชนี Geopolitical Risk Daily (GPR Daily) เคยพุ่งขึ้นอย่างมากเกิน 1,000 ไปแตะที่ 1,045 ในช่วงปี 2001 หลังเหตุการณ์ 9/11 ซึ่งเป็นการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกา เหตุการณ์นี้ส่งผลให้ดัชนี GPR พุ่งสูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจระดับโลก โดยค่า GPR ในช่วงเวลานั้นถือว่าเป็นหนึ่งในค่าที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของดัชนีนี้ นอกจากนี้ ค่าดัชนี GPR Daily พุ่งสูงใกล้แตะ 600 ในช่วงปี 2003 จากการเริ่มต้นของสงครามอิรัก การรุกรานครั้งนี้ทำให้เกิดความตึงเครียดอย่างมากทั้งในตะวันออกกลางและทั่วโลก เหตุการณ์นี้ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางการเมือง แต่ยังส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในตลาดน้ำมัน และในช่วงปี 1991 ซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ สงครามอ่าวเปอร์เซีย (Gulf War) ก็ทำให้ GPR Daily พุ่งเกิน 500

ขณะที่ในช่วงปี 2022 จากเหตุการณ์ การรุกรานของรัสเซียในยูเครน ซึ่งเริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 GPR Daily พุ่งเกิน 500  เช่นกัน การรุกรานครั้งนี้ทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในยุโรป และสร้างความไม่มั่นคงในเรื่องการจัดหาพลังงานทั่วโลก โดยยูเครนและรัสเซียเป็นผู้ผลิตพลังงานและอาหารสำคัญของโลก และในปี 2005 เกิดการวางระเบิดที่ลอนดอน ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งส่งผลให้เกิดความหวาดกลัวและความไม่แน่นอนในระดับโลก เหตุการณ์นี้ทำให้ดัชนี GPR Daily พุ่งขึ้น 400 กว่าๆ สะท้อนถึงความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของการก่อการร้ายและความมั่นคงทั่วโลก

นอกจากนี้ในปี 2020 ดัชนี GPR Daily มีการพุ่งสูงขึ้นจากเหตุการณ์การระบาดของ โรคโควิด-19 การระบาดครั้งนี้สร้างความปั่นป่วนในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก เพิ่มความตึงเครียดทางการเมือง นอกจากนี้ ความตึงเครียดระหว่าง สหรัฐอเมริกาและจีน ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นข้อพิพาททางการค้าและการกล่าวโทษทางการเมืองเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัส

1728870726250
ที่มา : www.matteoiacoviello.com

ทองคำมีแรงซื้อเข้ามาอย่างแข็งแกร่งในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้สัญญาณทางเทคนิคของราคาทองคำใน Timeframe 240 นาที ยังคงมีสัญญาณการปรับตัวขึ้นระยะสั้น โดยราคาทองคำมีแนวรับ 2,640 ดอลลาร์ และ 2,605 ดอลลาร์ และราคาทองคำมีแนวต้าน 2,670 ดอลลาร์ และแนวต้าน 2,685 ดอลลาร์ ส่วนแนวโน้มราคาทองแท่งในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น ตามราคาทองคำโลก โดยมีแนวรับ 41,400 บาท และ 41,200 บาท ขณะที่มีแนวต้านที่ 41,850 บาท และ 42,000 บาท

ดาวน์โหลดเอกสาร

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

 
Cover 1000x670 01

Daily Recap Gold Futures 11-12-2567

09:43 น.

 
Cover 1000x670 09

Daily Recap Gold Spot 11-12-2567

09:07 น.

 
Cover 1000x670 06

Derivative Recap 11-12-2567

08:51 น.

 
Cover 1000x670 11

Holiday Report 10-12-2567

08:46 น.

คำถามที่พบบ่อย

เกี่ยวกับเรา

พูดคุยกับเรา

พบเจอปัญหา หรือมีข้อสงสัย
ทักหาเราได้เลยที่นี่

เวลาทำการลูกค้าสัมพันธ์
จันทร์ - ศุกร์ 08.30 น. - 24.00 น.
เสาร์ - อาทิตย์ 08.30 น. - 17.30 น.

For the best experience, we recommend viewing the site in portrait orientation on mobile devices.

ตะกร้าสินค้า0
ไม่มีสินค้าในตะกร้า
เลือกซื้อสินค้าต่อ
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.